โลโก้เว็บไซต์ กองทุนเงินทดแทน | กองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

กองทุนเงินทดแทน

เผยแพร่เมื่อ : อังคาร 7 มีนาคม 2566 โดย ศรัญญา อินทร์คำเชื้อ จำนวนผู้เข้าชม 9147 คน

ยังไม่มีคะแนนสำหรับบทความนี้ ผู้อ่านสามารถให้คะแนนบทความได้จากปุ่มข้างใต้

กองทุนเงินทดแทน คือ กองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตรา  เจ็บป่วย  ถึงแก่ความตาย  หรือสูญหาย  เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยไม่คำนึงถึงวัน  เวลา และสถานที่ แต่จะดูสาเหตุที่ทำให้ประสบอัตรายหรือเจ็บป่วย

การประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน  หมายความว่า  การที่ลูกจ้างได้รับอันตรายแก่กายหรือผลกระทบแก่จิตใจหรือถึงแก่ความตายเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้นายจ้าง หรือทำตามคำสั่งของนายจ้าง

การเจ็บป่วยด้วยโรคเนื่องจากการทำงาน หมายความว่า การที่ลูกจ้างเจ็บป่วยหรือถึงแก่ความตายด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงาน หรือเนื่องจากการทำงาน

สูญหาย หมายความว่า การที่ลูกจ้างหายในไประหว่าการทำงานหรือปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้าง ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าลูกจ้างถึงแก่ความตายเพราะประสบเหตุอันตรายที่เกิดขึ้นในระว่างการทำงานหรือปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างนั้น  รวมตลอดถึงการที่ลูกจ้างหายไปในระหว่างเดินทางบก ทางอากาศ  หรือทางน้ำ เพื่อไปทำงานให้นายจ้าง ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่าพาหนะนั้นได้ประสบเหตุอันตรายและลูกจ้างถึงแก่ความตาย ทั้งนี้  เป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน นับแต่วันที่เกิดเหตุนั้น

สิทธิประโยชน์จากการประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงาน

1. ค่ารักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 50,000 บาทต่อการประสบอัตรายหรือเจ็บป่วย 1 ครั้ง กรณีเกินหลักเกณฑ์ที่กำหนด ให้คณะกรรมการการแพทาย์พิจารณาและคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ความเห็นชอบ

2. ค่าทดแทนรายเดือน  เมื่อประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย เนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง จนเป็นเหตุให้มีการหยุดงาน  สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ ตายหรือสูญหาย จะได้ค่าทดแทนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน และไม่เกิน 12,000 บาทต่อเดือน

2.1  กรณีแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว จะได้รับค่าทดแทนร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน กรณีลูกจ้างไม่สามารถทำงานติดต่อกันได้เกิน 3 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี โดยต้องมีใบรับรองแพทย์

2.2 กรณีสูญเสียอวัยวะ  มีสิทธิได้รับค่าทดแทนร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลาไม่เกิน 10 ปี ทั้งนี้ การประเมินการสูญเสียอวัยวะ ลูกจ้างจะต้องได้รับการรักษาพยาลาลทางการแพทย์จนสิ้นสุดการรักษา

2.3 กรณีทุพลภาพ  มีสิทธิได้รับค่าทดแทนร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือนเป็นระยะเวลาไม่เกิน 15 ปี

2.4 กรณีถึงแก่ความตายหรือสูญหาย มีสิทธิได้รับค่าทดแทนร้อยละ 60 ของค่าจ้างรายเดือน เป็นระยะเวลา 8 ปี จ่ายให้กับผู้มีสิทธิตามกฎหมาย และค่าทำศพ

3. ค่าทำศพ ได้รับค่าทำศพ เป็นจำนวน 100 เท่าของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวัน ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน โดยจ่ายให้กับผู้จัดการศพ

4. หากลูกจ้างจำเป็นต้องดได้รับการฟื้นฟู กรณีฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานภายหลังการประสบอันตรายสำหรับลูกจ้างที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู ได้รับตามอัตรา ดังนี้

4.1 ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านอาชีพ โดยให้จ่ายได้เฉพาะที่เป็นการฝึกตามหลักสูตรที่หน่วยงานของสำนักงานประกันสังคมเป็นผู้ดำเนินการ ไม่เกิน 24,000 บาท

4.2 ค่าใช้จ่ายในกระบวนการเวชศาสตร์ฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานด้านการแพทย์ โดยเป็นค่าใช้จ่ายทางกายภาพบำบัดไม่เกินวันละ 200 บาท  และค่าใช้จ่ายทางกิจกรรมบำบัดไม่เกินวันละ 100 บาท แต่รวมแล้วไม่เกิน 24,000 บาท

4.3 ค่าใช้จ่ายในกระบวนการบำบัดรักษาและการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 40,000 บาท หากมีความจำเป็นให้จ่ายเพิ่มได้อีกไม่เกิน 110,000 บาท โดยคณะกรรมการการแพทาย์พิจารณา และคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนให้ความเห็นชอบ

4.4 ค่าวัสดุและอุปกรณ์ด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู หน่วยละไม่เกินอัตราตามที่กระทรวงการคลังกำหนด  แต่รวมแล้วไม่เกิน 160,000 บาท

เอกสารประกอบการขอรับเงินทดแทน

3. ใบเสร็จรับเงิน
4. ใบรับรองแพทย์
5. หลักฐานการลงเวลาปฏิบัติงาน






ออกแบบและพัฒนาโดย สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา